3/18/2010

สิ่งที่เรียกว่า "ทองคำขาว"


ในวงการเครื่องประดับ เรามักได้ยินคำว่า ทองคำขาว ซึ่งสร้างความสงสัยว่าทองคำมีสีขาวด้วยหรือ จนหลายคนเข้าใจผิดว่ามีทองคำสีขาว แต่จริงๆแล้วสิ่งที่เราเรียกว่า ทองคำขาวนั้นไม่ใช่ทองคำ แต่เป็นธาตุอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แพลทินัม Platinum (Pt) วันนี้เรามาทำความรู้จักธาตุที่มีในธรรมชาติที่เรียกว่า แพลทินัมกันดีกว่าครับ

Platinum (Pt)
แพลทินัม

คุณสมบัติทั่วไป

1.เลขอะตอม 78 เป็นธาตุที่ 3 ของคาบที่ 7 ของหมู่ VIII ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะทรานซิชัน
2.น้ำหนักอะตอม 195.09 amu
3.จุดหลอมเหลว 1769.3 ํc
4.จุดเดือด 3827 ํc
5.ความหนาแน่น 21.45 g/cc ที่ 20 ํc
6.เลขออกซิเดชันสามัญ +2, +4

การค้นพบ

Julius Caesar Scaliger ในปี ค.ศ. 1557 ได้เขียนถึงสาร ๆ หนึ่งที่พบในเหมืองในอเมริกากลางว่า ไม่สามารถหลอมโดยไฟหรือวิธีการอื่น ๆ ที่ทราบในสมัยนั้น สาร ๆ นี้ตามหลักฐานที่ปรากฎน่าจะเป็นแพลทินัม

ในกลางศตวรรษที่ 18 มีการอ้างอิงถึง "Platina" ว่าเป็นสารปนเปื้อนหรือสารที่ไม่ต้องการของทองคำ ตามเหมืองในประเทศโคลัมเบียในปัจจุบัน

William Brownrigg แพทย์ชาวอังกฤษได้ทำการทดลองเกี่ยวกับธาตุนี้และได้รายงานผลกับ Royal Society ของอังกฤษในปี ค.ศ. 1750

ในปี ค.ศ. 1775 de l'Isleสามารถหลอมแพลทินัมที่ได้สกัดเอาเหล็กและทรายออกไปแล้ว โดยใช้ aqua regia ทำให้ตกตะกอนเป็น ammonium chloroplatinate แล้วตกตะกอนที่ได้นี้ไปเผา

ในปี ค.ศ. 1803 W.H. Wollaston ชาวอังกฤษก็สามารถเตรียมแพลทินัมบริสุทธิ์ได้ โดยการศึกษาสารละลาย aqua regia ของแพลทินัมที่ไม่บริสุทธิ์อย่างละเอียด ซึ่งผลจากการศึกษานี้ เขาค้นพบธาตุใหม่อีกสองธาตุคือ แพลเลเดียม (Pd) และโรเดียว (Rh) ด้วย Platinum มาจากคำสเปน platina แปลว่า silver (เงิน)

การใช้ประโยชน์

แพลทินัมเป็นโลหะในตระกูลแพลทินัมที่มีปริมาณการใช้มากที่สุด (สถิติในปี ค.ศ. 1965 ปริมาณ 43 % ของโลหะในตระกูลแพลทินัม) และส่วนใหญ่ใช้ในรูปของโลหะอิสระและในรูปของผงละเอียดดังนี้

1. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) และปฏิกิริยาการดึงเอาไฮโดรเจนออก (dehydrogenation) ในเคมีอินทรีย์

2. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับดัดแปลงโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนในกระบวนการไอโซเมอไรเซชัน เพื่อเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมันเชื้อเพลิง

3. ใช้เป็นตัวเร่งช่วยทำให้แก๊สบริสุทธิ์โดยกระบวนการออกซิเดชันหรือการเติมไฮโดรเจน

4. มีการใช้บ้างในกระบวนการคอนแทก (Contact process) เพื่อผลิตกรดซัลฟุริก

ความเป็นพิษ

แพลทินัมในรูปธาตุอิสระไม่ปรากฏเป็นพิษ แต่เกลือที่ละลายได้เป็นพิษ ในรูปของ ผงละเอียดอาจติดไฟได้

--------------------------------------------------------------------------------
ผู้เขียน : ดร.ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์
ที่มา : รวบรวมจาก หนังสือสารานุกรมธาตุ
คัดลอกมาจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic2/Pt.html

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทองคำ (Gold)

Gold (Au)
ทองคำ

คุณสมบัติโดยทั่วไปเป็นดังนี้ครับ

1. เลขอะตอม 79 เป็นธาตุที่ 3 ของหมู่ IB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะ
2. น้ำหนักอะตอม 196.967 amu
3. จุดหลอมเหลว 1063 ํc
4. จุดเดือด 2808 ํc
5. ความหนาแน่น 19.32 g/cc
6. เลขออกซิเดชันสามัญ +1,+3

การค้นพบ

สันนิฐานว่าทองคำคงจะเป็นโลหะอิสระโลหะแรกที่มนุษย์เรารู้จัก มนุษย์เรารู้จักโลหะทองคำอย่างน้อยตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ใน Meso potamia (อาณาจักรโบราณในตะวันออกกลาง) ประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัยไม่ว่าจะเป็นอียิปต์โบราณ ยุโรป จีน ล้วนแล้วแต่มี การกล่าวถึงทองคำ คุณค่าและการใช้ประโยชน์ของโลหะนี้

ความมีค่าของทองคำเป็นแรงดลใจให้มนุษย์เราพยายามเสาะแสวงหามันได้ครอบครอง ในยุคเล่นแร่แปรธาตุ นักวิทยาศาสตร์พยายามหาวิธีเปลี่ยนโลหะที่มีราคาถูกและหาง่าย เช่น Pb, Sn ให้เป็นทองคำ ความพยายามถึงแม้จะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็มีส่วนทำให้วิทยาการทางเคมี แพทย์และการถลุงโลหะเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ

การใช้ประโยชน์

1. ใช้เป็นมาตรฐานของระบบการเงินสากล ประมาณกึ่งหนึ่งของทองคำทั้งหมดเก็บรักษาอยู่ในคลังของประเทศต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์นี้

2. ใช้เป็นเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ

3. ใช้ทำโลหะเจือ โลหะเจือของทองคำให้สีต่าง ๆ การบอกร้อยละของทองคำในโลหะเจือนิยมระบุเป็นการัด (karat)

1 karat (Kt) = 1/24 ของทองคำโดยน้ำหนักในโลหะเจือ

ดังนั้น ทองคำ 24 Kt คือทองคำบริสุทธิ์ ส่วนทองคำ 18 Kt, 14 Kt และ 10 Kt มีองค์ประกอบของทองคำโดยน้ำหนัก 75.00 %, 58.33 % และ 41.67 % ตามลำดับ

4. แผ่นทองคำบาง ๆ (gold leaf) ใช้เป็นตัวอักษรหรือสัญญาณของเครื่องบอกสัญญาณ ตัวอักษรของปกหนังสือ

5. ทองคำในรูปแขวนลอยใช้ทำลาย และศิลปบนผิวของเครื่องปั้นดินเผา

6. ใช้ในอุตสาหกรรมอิเลกโตรนิก และโครงการยานอวกาศ

ความเป็นพิษ
ทองคำไม่ปรากฏเป็นพิษ
-------------------------------------------------------------

ผู้เขียน : ดร.ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์
ที่มา : รวบรวมจาก หนังสือสารานุกรมธาตุ
คัดลอกจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic2/Au.html

หมายเหตุ ขอเสริมเรื่องน้ำหนักทองที่ใช้ของไทยในหน่วย "บาท" นั้นมาจากการชั่งน้ำหนักทองคำสมัยก่อนใช้ตาชั่งแบบคานสมดุล ซึ่งพ่อค้าทองจะถ่วงทองคำกับอีกด้านด้วยเหรียญบาท โดย 1 บาท = 15.2 กรัม ปัจจุบันไม่นิยมใช้ตาชั่งแบบดังกล่าวแล้วประกอบกับเหรียญบาทในปัจจุบันอาจมีน้ำหนักไม่เท่าเดิม แต่หน่วยเรียกน้ำหนักทองดังกล่าวก็ยังคงติดปากจนปัจจุบัน

3/17/2010

เอกสารประกอบคำขอ ป.5

เอกสารประกอบคำของ ป.5 ในการใช้วัตถุระเบิดในงานอุตสาหกรรม มี 20 รายการดังนี้
1. แบบ ป.11
2. แบบ ป.ค. 14
3. หนังสือรับรองของบริษัทฯ (กรณีขอในนามนิติบุคคล)
4. หนังสือจดทพเบียนการค้า (กรณีขอในนามนิติบุคคล)
5. ภ.พ. 20 (กรณีขอในนามนิติบุคคล)
6. สำเนาบัตรประชาชน
7. สำเนาทะเบียนบ้าน
8. บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (กรณีขอในนามบุคคลธรรมดา)
9. แบบฟอร์ม บันทึกการตรวจสถานที่เก็บรักษาวัตถุระเบิด
10.แบบ ป. 5 (ฉบับเดิมกรณีต่ออายุ)
11.แบบรายงาน ป.14 บัญชีรายละเอียดยอดวัตถุระเบิด ประจำเดือน
12.แบบรายงาน ป.13 บัญชีรายละเอียดวัตถุระเบิดประจำสถานที่
13.รายงานการตัดยอดวัตถุระเบิด
14.แบบฟอร์มข้อมูลการประเมินการใช้วัตถุระเบิดสำหรับเหมืองแร่
15.ใบอนุญาตวิศวกรควบคุมเหมือง (ใบ กว.)
16.ประทานบัตร (แบบแร่ 5), ใบอนุญาตรับช่วงการทำเหมือง
17.แผนที่นำทางจากถนนใหญ่ไปยังสถานที่เก็บวัตถุระเบิด
18.หนังสืออนุญาตให้ฝากเก็บวัตถุระเบิด (กรณีฝากเก็บ)
19.รายการคำนวณวัตถุระเบิดจากอุตสาหกรรมจังหวัด (กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้)
20.หนังสือรับรองของกองทัพภาคที่ 4 (กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้)

เอกสารทั้ง 20 ข้อ บางข้อก็ไม่จำเป็นต้องใช้นะครับ ถ้าอยู่นอกกรณี เช่น ข้อ 3,4,5,8,10,18,19 และ 20

3/10/2010

การขอใบอนุญาตในเรื่องวัตถุระเบิด


สวัสดีครับชาวเหมืองแร่ทุกท่าน วันนี้มีเรื่องของการขอใบอนุญาตในเรื่องของวัตถุระเบิดมาเล่าสู่กันฟังครับ ซึ่งวัตถุระเบิดเป็นหัวใจในการผลิตเลยครับ หินแข็งจะส่งผ่านไปยังกระบวนการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นหินก่อสร้างหรือนำไปสกัดเอาแร่ธาตุที่มีคุณค่าก็ต้องผ่านกระบวนการระเบิดย่อยให้มีขนาดเล็กซะก่อนครับ

สำหรับใบอนุญาตที่จะกล่าวถึง คือ

1. ใบอนุญาตซื้อ มี ใช้ และขนย้ายวัตถุระเบิด ซึ่งเราเรียกสั่นๆว่า แบบ ป.5
2. ในอนุญาตให้มีซึ่งยุทธภัณฑ์ (ซึ่งวัตถุระเบิดถือเป็นยุทธภัณฑ์ชนิดหนึ่ง) เราเรียกใบอนุญาตนี้ว่า แบบ ยภ.5

ชาวเหมืองแร่และเหมืองหินที่จะใช้วัตถุระเบิดในการทำเหมืองจะต้องมีทั้ง 2 ใบนี้ครับ มีเฉพาะใบใดใบหนึ่งไม่ได้นะครับ

มาที่เรื่องแรกก่อนนะครับ แบบ ป. 5 เป็นใบอนุญาตที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทย เป็นการออกเพื่ออนุญาตให้บริษัท เหมืองแร่ใดๆสามารถ ซื้อ มี ใช้ และขนย้ายวัตถุระเบิดได้ อันได้แก่ ดินระเบิด, สายชนวน และแก๊ป ซึ่งโดยทั่วไปใบอนุญาตนี้มีอายุ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาต แต่ถ้าประทานบัตรหมดอายุให้ถือว่าใบ ป.5 นี้หมดอายุตาม หรือผู้ได้รับอนุญาตใช้จำนวนวัตถุระเบิดหมดตามที่ได้รับอนุญาตก็ถือว่าใบ ป.5 หมดอายุตามด้วยนะครับ หรือกรณีท่านขอใหม่แล้วได้ใบใหม่ก่อนใบเดิมหมดอายุ ก็ถือว่าใบเดิมหมดอายุโดยอัตโนมัตินะครับ และที่สำคัญ ใบป.5 ต้องมีคู่กับ ย.ภ. 5 ที่ออกโดยกระทรวงกลาโหมด้วยนะครับ

3/09/2010

คู่มือการใช้ NONEL


กระแสของการบังคับใช้ NONEL = Non Electric หรือรู้จักกันในวงการเหมืองแร่ว่าเป็นแก๊ปแบบไม่ใช้ไฟฟ้ามีมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัดภาคใต้ เพื่อไม่ให้มีการใช้แก๊ปไฟฟ้า แต่ราคาแก๊ป 2 ประเภทนี้ต่างกันเยอะพอสมควรในปัจจุบัน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการทำเหมืองสูงขึ้น แน่นอนว่าจะส่งผลต่อราคาขายที่จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หินก่อสร้างในอนาคตครับ



ใครสนใจคู่มือการใช้แก๊ป NONEL ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ

หนังสือความรู้เกี่ยวกับวัตถุระเบิดของ NATIONAL PARK SERVICE


วันนี้ขอแนะนำแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับงานวัตถุระเบิด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่วิศวกรเหมืองแร่ต้องรู้ และถือได้ว่า วิศวกรเหมืองแร่เป็นวิศวกรเดียวที่มีวิชาเรียนด้านงานวัตถุระเบิดนี้

ดาวโหลดได้ตามลิ้งด้านล่างนี้ครับ
http://www.nps.gov/history/history/online_books/npsg/explosives/contents.htm

สถิติการเติบโตในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของไทย (GDP) 2544-2553

ที่มา: สำนักงานสถิติฯ