12/13/2010

Glück auf!

Glück auf! เป็นคำทักทายของชาวเหมืองแร่ที่เยอรมัน มีความหมายคล้ายกับคำว่า Good luck หรือ โชคดีนะ แต่เขาใช้กันเมื่อพบเจอกันเหมือนคำว่า Hallo หรือ Hello ในภาษาอังกฤษที่แปลว่า สวัสดี

8/29/2010

7/29/2010

7/22/2010

ร้อยเรื่องถ่านหิน: ตอนเหมืองถ่านหินกับการจัดการสิ่งแวดล้อมทางน้ำ

ร้อยเรื่องถ่านหิน: ตอนเหมืองถ่านหินกับการจัดการสิ่งแวดล้อมทางน้ำ

Download

7/21/2010

ร้อยเรื่องถ่านหิน: ตอนเหมืองถ่านหินกับการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ

ร้อยเรื่องถ่านหิน: ตอนเหมืองถ่านหินกับการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ

[Download]

ร้อยเรื่องถ่านหิน: ตอนนโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเหมืองถ่านหิน

ร้อยเรื่องถ่านหิน: ตอนนโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเหมืองถ่านหิน

[Download]

7/20/2010

7/17/2010

7/15/2010

7/06/2010

โปรแกรมออกแบบการระเบิดในงานเหมืองแร่ PSU Blasting Design

ท่านสามารถดาวโหลดโปรแกรมออกแบบการระเบิดในงานเหมืองแร่ PSU Blasting Design ได้ตามลิ้งค์ด้านล่าง
[Download here]

7/01/2010

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน16/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน16/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน15/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน15/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน14/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน14/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน13/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน13/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน12/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน12/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน11/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน11/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน10/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน10/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน9/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน9/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน8/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน8/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน7/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน7/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน6/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน6/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน5/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน5/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน4/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน4/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน3/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน3/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน2/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน2/16

Download

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน1/16

Coal lecture: ความรู้และสถานการณ์ถ่านหิน1/16

Download

6/28/2010

The Earth Shaped By Time 9/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

The Earth Shaped By Time 9/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

Download

The Earth Shaped By Time 8/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

The Earth Shaped By Time 8/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

Download

The Earth Shaped By Time 7/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

The Earth Shaped By Time 7/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

Download

The Earth Shaped By Time 6/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

The Earth Shaped By Time 6/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

Download

The Earth Shaped By Time 5/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

The Earth Shaped By Time 5/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

Download

The Earth Shaped By Time 4/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

The Earth Shaped By Time 4/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

Download

The Earth Shaped By Time 3/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

The Earth Shaped By Time 3/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

Download

The Earth Shaped By Time 2/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

The Earth Shaped By Time 2/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

Download

The Earth Shaped By Time 1/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

The Earth Shaped By Time 1/9 ย้อนรอยแผ่นดินโลก

Download

6/27/2010

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 12 - บทสรุป

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 12 - บทสรุป

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 11 - ทรัพยากรธรณี

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 11 - ทรัพยากรธรณี

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 10 - ธรณีภิบัติภัย

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 10 - ธรณีภิบัติภัย

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 9 - ไดโนเสาร์ไทย

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 9 - ไดโนเสาร์ไทย

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 8 - ฟอสซิลไทย

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 8 - ฟอสซิลไทย

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 7 - ภูมิลักษณ์ประเทศไทย

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 7 - ภูมิลักษณ์ประเทศไทย

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 6 - การกัดเซาะ

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 6 - การกัดเซาะ

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 5 - กำเนิดเทือกเขา

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 5 - กำเนิดเทือกเขา

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 4 - กำเนิดสุวรรณภูมิ

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 4 - กำเนิดสุวรรณภูมิ

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่3 - ธรณีกาล

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่3 - ธรณีกาล

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่2 - เรื่องหิน

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่2 - เรื่องหิน

Download

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 1 เรื่องโลก

รอบรู้ธรณีไทย ตอนที่ 1 เรื่องโลก

Download

6/17/2010

ตารางคำนวณ Coal mine blast design

ตารางคำนวณ Coal mine blast design ดาวโหลดได้ตามลิ้งค์ด้านล่าง
download here


6/04/2010

6/03/2010

การทำเหมืองใต้ดินแบบ Longwall mining


ตัวอย่างการทำเหมืองใต้ดินแบบ Longwall mining

5/27/2010

plate tectonics map


These are maps of plate tectonics.

แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทย


แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทย ปี 2548

แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย


แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทยปี 2542

3/18/2010

สิ่งที่เรียกว่า "ทองคำขาว"


ในวงการเครื่องประดับ เรามักได้ยินคำว่า ทองคำขาว ซึ่งสร้างความสงสัยว่าทองคำมีสีขาวด้วยหรือ จนหลายคนเข้าใจผิดว่ามีทองคำสีขาว แต่จริงๆแล้วสิ่งที่เราเรียกว่า ทองคำขาวนั้นไม่ใช่ทองคำ แต่เป็นธาตุอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แพลทินัม Platinum (Pt) วันนี้เรามาทำความรู้จักธาตุที่มีในธรรมชาติที่เรียกว่า แพลทินัมกันดีกว่าครับ

Platinum (Pt)
แพลทินัม

คุณสมบัติทั่วไป

1.เลขอะตอม 78 เป็นธาตุที่ 3 ของคาบที่ 7 ของหมู่ VIII ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะและโลหะทรานซิชัน
2.น้ำหนักอะตอม 195.09 amu
3.จุดหลอมเหลว 1769.3 ํc
4.จุดเดือด 3827 ํc
5.ความหนาแน่น 21.45 g/cc ที่ 20 ํc
6.เลขออกซิเดชันสามัญ +2, +4

การค้นพบ

Julius Caesar Scaliger ในปี ค.ศ. 1557 ได้เขียนถึงสาร ๆ หนึ่งที่พบในเหมืองในอเมริกากลางว่า ไม่สามารถหลอมโดยไฟหรือวิธีการอื่น ๆ ที่ทราบในสมัยนั้น สาร ๆ นี้ตามหลักฐานที่ปรากฎน่าจะเป็นแพลทินัม

ในกลางศตวรรษที่ 18 มีการอ้างอิงถึง "Platina" ว่าเป็นสารปนเปื้อนหรือสารที่ไม่ต้องการของทองคำ ตามเหมืองในประเทศโคลัมเบียในปัจจุบัน

William Brownrigg แพทย์ชาวอังกฤษได้ทำการทดลองเกี่ยวกับธาตุนี้และได้รายงานผลกับ Royal Society ของอังกฤษในปี ค.ศ. 1750

ในปี ค.ศ. 1775 de l'Isleสามารถหลอมแพลทินัมที่ได้สกัดเอาเหล็กและทรายออกไปแล้ว โดยใช้ aqua regia ทำให้ตกตะกอนเป็น ammonium chloroplatinate แล้วตกตะกอนที่ได้นี้ไปเผา

ในปี ค.ศ. 1803 W.H. Wollaston ชาวอังกฤษก็สามารถเตรียมแพลทินัมบริสุทธิ์ได้ โดยการศึกษาสารละลาย aqua regia ของแพลทินัมที่ไม่บริสุทธิ์อย่างละเอียด ซึ่งผลจากการศึกษานี้ เขาค้นพบธาตุใหม่อีกสองธาตุคือ แพลเลเดียม (Pd) และโรเดียว (Rh) ด้วย Platinum มาจากคำสเปน platina แปลว่า silver (เงิน)

การใช้ประโยชน์

แพลทินัมเป็นโลหะในตระกูลแพลทินัมที่มีปริมาณการใช้มากที่สุด (สถิติในปี ค.ศ. 1965 ปริมาณ 43 % ของโลหะในตระกูลแพลทินัม) และส่วนใหญ่ใช้ในรูปของโลหะอิสระและในรูปของผงละเอียดดังนี้

1. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) และปฏิกิริยาการดึงเอาไฮโดรเจนออก (dehydrogenation) ในเคมีอินทรีย์

2. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับดัดแปลงโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนในกระบวนการไอโซเมอไรเซชัน เพื่อเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมันเชื้อเพลิง

3. ใช้เป็นตัวเร่งช่วยทำให้แก๊สบริสุทธิ์โดยกระบวนการออกซิเดชันหรือการเติมไฮโดรเจน

4. มีการใช้บ้างในกระบวนการคอนแทก (Contact process) เพื่อผลิตกรดซัลฟุริก

ความเป็นพิษ

แพลทินัมในรูปธาตุอิสระไม่ปรากฏเป็นพิษ แต่เกลือที่ละลายได้เป็นพิษ ในรูปของ ผงละเอียดอาจติดไฟได้

--------------------------------------------------------------------------------
ผู้เขียน : ดร.ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์
ที่มา : รวบรวมจาก หนังสือสารานุกรมธาตุ
คัดลอกมาจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic2/Pt.html

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทองคำ (Gold)

Gold (Au)
ทองคำ

คุณสมบัติโดยทั่วไปเป็นดังนี้ครับ

1. เลขอะตอม 79 เป็นธาตุที่ 3 ของหมู่ IB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะ
2. น้ำหนักอะตอม 196.967 amu
3. จุดหลอมเหลว 1063 ํc
4. จุดเดือด 2808 ํc
5. ความหนาแน่น 19.32 g/cc
6. เลขออกซิเดชันสามัญ +1,+3

การค้นพบ

สันนิฐานว่าทองคำคงจะเป็นโลหะอิสระโลหะแรกที่มนุษย์เรารู้จัก มนุษย์เรารู้จักโลหะทองคำอย่างน้อยตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ใน Meso potamia (อาณาจักรโบราณในตะวันออกกลาง) ประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัยไม่ว่าจะเป็นอียิปต์โบราณ ยุโรป จีน ล้วนแล้วแต่มี การกล่าวถึงทองคำ คุณค่าและการใช้ประโยชน์ของโลหะนี้

ความมีค่าของทองคำเป็นแรงดลใจให้มนุษย์เราพยายามเสาะแสวงหามันได้ครอบครอง ในยุคเล่นแร่แปรธาตุ นักวิทยาศาสตร์พยายามหาวิธีเปลี่ยนโลหะที่มีราคาถูกและหาง่าย เช่น Pb, Sn ให้เป็นทองคำ ความพยายามถึงแม้จะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็มีส่วนทำให้วิทยาการทางเคมี แพทย์และการถลุงโลหะเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ

การใช้ประโยชน์

1. ใช้เป็นมาตรฐานของระบบการเงินสากล ประมาณกึ่งหนึ่งของทองคำทั้งหมดเก็บรักษาอยู่ในคลังของประเทศต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์นี้

2. ใช้เป็นเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ

3. ใช้ทำโลหะเจือ โลหะเจือของทองคำให้สีต่าง ๆ การบอกร้อยละของทองคำในโลหะเจือนิยมระบุเป็นการัด (karat)

1 karat (Kt) = 1/24 ของทองคำโดยน้ำหนักในโลหะเจือ

ดังนั้น ทองคำ 24 Kt คือทองคำบริสุทธิ์ ส่วนทองคำ 18 Kt, 14 Kt และ 10 Kt มีองค์ประกอบของทองคำโดยน้ำหนัก 75.00 %, 58.33 % และ 41.67 % ตามลำดับ

4. แผ่นทองคำบาง ๆ (gold leaf) ใช้เป็นตัวอักษรหรือสัญญาณของเครื่องบอกสัญญาณ ตัวอักษรของปกหนังสือ

5. ทองคำในรูปแขวนลอยใช้ทำลาย และศิลปบนผิวของเครื่องปั้นดินเผา

6. ใช้ในอุตสาหกรรมอิเลกโตรนิก และโครงการยานอวกาศ

ความเป็นพิษ
ทองคำไม่ปรากฏเป็นพิษ
-------------------------------------------------------------

ผู้เขียน : ดร.ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์
ที่มา : รวบรวมจาก หนังสือสารานุกรมธาตุ
คัดลอกจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic2/Au.html

หมายเหตุ ขอเสริมเรื่องน้ำหนักทองที่ใช้ของไทยในหน่วย "บาท" นั้นมาจากการชั่งน้ำหนักทองคำสมัยก่อนใช้ตาชั่งแบบคานสมดุล ซึ่งพ่อค้าทองจะถ่วงทองคำกับอีกด้านด้วยเหรียญบาท โดย 1 บาท = 15.2 กรัม ปัจจุบันไม่นิยมใช้ตาชั่งแบบดังกล่าวแล้วประกอบกับเหรียญบาทในปัจจุบันอาจมีน้ำหนักไม่เท่าเดิม แต่หน่วยเรียกน้ำหนักทองดังกล่าวก็ยังคงติดปากจนปัจจุบัน

3/17/2010

เอกสารประกอบคำขอ ป.5

เอกสารประกอบคำของ ป.5 ในการใช้วัตถุระเบิดในงานอุตสาหกรรม มี 20 รายการดังนี้
1. แบบ ป.11
2. แบบ ป.ค. 14
3. หนังสือรับรองของบริษัทฯ (กรณีขอในนามนิติบุคคล)
4. หนังสือจดทพเบียนการค้า (กรณีขอในนามนิติบุคคล)
5. ภ.พ. 20 (กรณีขอในนามนิติบุคคล)
6. สำเนาบัตรประชาชน
7. สำเนาทะเบียนบ้าน
8. บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (กรณีขอในนามบุคคลธรรมดา)
9. แบบฟอร์ม บันทึกการตรวจสถานที่เก็บรักษาวัตถุระเบิด
10.แบบ ป. 5 (ฉบับเดิมกรณีต่ออายุ)
11.แบบรายงาน ป.14 บัญชีรายละเอียดยอดวัตถุระเบิด ประจำเดือน
12.แบบรายงาน ป.13 บัญชีรายละเอียดวัตถุระเบิดประจำสถานที่
13.รายงานการตัดยอดวัตถุระเบิด
14.แบบฟอร์มข้อมูลการประเมินการใช้วัตถุระเบิดสำหรับเหมืองแร่
15.ใบอนุญาตวิศวกรควบคุมเหมือง (ใบ กว.)
16.ประทานบัตร (แบบแร่ 5), ใบอนุญาตรับช่วงการทำเหมือง
17.แผนที่นำทางจากถนนใหญ่ไปยังสถานที่เก็บวัตถุระเบิด
18.หนังสืออนุญาตให้ฝากเก็บวัตถุระเบิด (กรณีฝากเก็บ)
19.รายการคำนวณวัตถุระเบิดจากอุตสาหกรรมจังหวัด (กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้)
20.หนังสือรับรองของกองทัพภาคที่ 4 (กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้)

เอกสารทั้ง 20 ข้อ บางข้อก็ไม่จำเป็นต้องใช้นะครับ ถ้าอยู่นอกกรณี เช่น ข้อ 3,4,5,8,10,18,19 และ 20

3/10/2010

การขอใบอนุญาตในเรื่องวัตถุระเบิด


สวัสดีครับชาวเหมืองแร่ทุกท่าน วันนี้มีเรื่องของการขอใบอนุญาตในเรื่องของวัตถุระเบิดมาเล่าสู่กันฟังครับ ซึ่งวัตถุระเบิดเป็นหัวใจในการผลิตเลยครับ หินแข็งจะส่งผ่านไปยังกระบวนการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นหินก่อสร้างหรือนำไปสกัดเอาแร่ธาตุที่มีคุณค่าก็ต้องผ่านกระบวนการระเบิดย่อยให้มีขนาดเล็กซะก่อนครับ

สำหรับใบอนุญาตที่จะกล่าวถึง คือ

1. ใบอนุญาตซื้อ มี ใช้ และขนย้ายวัตถุระเบิด ซึ่งเราเรียกสั่นๆว่า แบบ ป.5
2. ในอนุญาตให้มีซึ่งยุทธภัณฑ์ (ซึ่งวัตถุระเบิดถือเป็นยุทธภัณฑ์ชนิดหนึ่ง) เราเรียกใบอนุญาตนี้ว่า แบบ ยภ.5

ชาวเหมืองแร่และเหมืองหินที่จะใช้วัตถุระเบิดในการทำเหมืองจะต้องมีทั้ง 2 ใบนี้ครับ มีเฉพาะใบใดใบหนึ่งไม่ได้นะครับ

มาที่เรื่องแรกก่อนนะครับ แบบ ป. 5 เป็นใบอนุญาตที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทย เป็นการออกเพื่ออนุญาตให้บริษัท เหมืองแร่ใดๆสามารถ ซื้อ มี ใช้ และขนย้ายวัตถุระเบิดได้ อันได้แก่ ดินระเบิด, สายชนวน และแก๊ป ซึ่งโดยทั่วไปใบอนุญาตนี้มีอายุ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาต แต่ถ้าประทานบัตรหมดอายุให้ถือว่าใบ ป.5 นี้หมดอายุตาม หรือผู้ได้รับอนุญาตใช้จำนวนวัตถุระเบิดหมดตามที่ได้รับอนุญาตก็ถือว่าใบ ป.5 หมดอายุตามด้วยนะครับ หรือกรณีท่านขอใหม่แล้วได้ใบใหม่ก่อนใบเดิมหมดอายุ ก็ถือว่าใบเดิมหมดอายุโดยอัตโนมัตินะครับ และที่สำคัญ ใบป.5 ต้องมีคู่กับ ย.ภ. 5 ที่ออกโดยกระทรวงกลาโหมด้วยนะครับ

3/09/2010

คู่มือการใช้ NONEL


กระแสของการบังคับใช้ NONEL = Non Electric หรือรู้จักกันในวงการเหมืองแร่ว่าเป็นแก๊ปแบบไม่ใช้ไฟฟ้ามีมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัดภาคใต้ เพื่อไม่ให้มีการใช้แก๊ปไฟฟ้า แต่ราคาแก๊ป 2 ประเภทนี้ต่างกันเยอะพอสมควรในปัจจุบัน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการทำเหมืองสูงขึ้น แน่นอนว่าจะส่งผลต่อราคาขายที่จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หินก่อสร้างในอนาคตครับ



ใครสนใจคู่มือการใช้แก๊ป NONEL ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ

หนังสือความรู้เกี่ยวกับวัตถุระเบิดของ NATIONAL PARK SERVICE


วันนี้ขอแนะนำแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับงานวัตถุระเบิด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่วิศวกรเหมืองแร่ต้องรู้ และถือได้ว่า วิศวกรเหมืองแร่เป็นวิศวกรเดียวที่มีวิชาเรียนด้านงานวัตถุระเบิดนี้

ดาวโหลดได้ตามลิ้งด้านล่างนี้ครับ
http://www.nps.gov/history/history/online_books/npsg/explosives/contents.htm

1/04/2010

เหมืองแร่กับสิ่งแวดล้อมบนเส้นทางขนาน จริงหรือ?

ปัจจุบันกระแสการตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้รับการส่งเสริมให้ความรู้กับประชาชนมากขึ้น ประชาชนมีความตื่นตัวในการรักษาสิทธิของตนเองมากขึ้น และการให้ความสำคัญด้านผลกระทบต่อสุขภาพเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงให้ได้เห็นผ่านสื่อบ่อยขึ้น เช่นคำว่า HIA = Health Impact Assessment (การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ) นอกเหนือไปจากคำว่า EIA = Environmental Impact Assessment (การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม) ซึ่งเป็นคำที่ถูกใช้มานาน จริงๆ ผลกระทบต่อสุขภาพก็เป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นคำที่กว้างกว่า การชูประเด็นด้านสุขภาพออกมาโดยแยกออกมาจากผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็เป็นการให้ความสำคัญ ซึ่งทำให้เกิดการขยายรายละเอียดย่อยของประเด็นสุขภาพ ซึ่งเป็นการดีต่อการใคร่ครวญในกิจกรรมใดๆที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่ใกล้เคียง

เมื่อไม่นานมานี้ประเด็นเรื่องการระงับโครงการที่มาบตาพุต เกี่ยวพันทางด้านสิ่งแวดล้อม และการตีความด้านรัฐธรรมนูญกับกฎหมายลูกก็ฉุดกระแสสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่สนใจของสังคม กระแสเรื่องเหมืองทองคำที่ภาคอีสาน และเมื่อวานทางทีวีช่องหนึ่ง พูดเรื่องเหมืองหินที่สงขลา ซึ่งผู้เขียนเคยได้รับความอนุเคราะห์เข้าเยี่ยมชม

จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมทุกแขนง มีผลกระทบต่อชุมชนได้ทั้งสิ้น ปิโตรเคมี ก๊าซ อาหารเครื่องดื่ม ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เหมืองแร่ ฯลฯ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมของเราทุกคนก็ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเราเอง เช่น จากน้ำทิ้ง ขยะมูลฝอย หรือแม้แต่การเกษตรกรรม ขอเสียจากการเกษตรก็ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน มีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการเกษตรหรืออุตสาหกรรมมีผลต่อภาวะเรือนกระจก และใครๆก็ชอบพูดว่าก๊าซเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ธรรมชาติเองก็มีการเคลื่อนไหวปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลา รังสีจากดวงอาทิตย์ ซึ่งถูกหยิบยกมาสร้างเป็นหนังแนววิทยาศาสตร์ของวันสิ้นโลก หรืออุกาบาศก์ชนโลกที่เป็นหนังคลาสสิคแนวนี้ในอดีต ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง (จริงๆ ภัยพิบัตเหล่านี้เรียกวันสิ้นโลกก็คงไม่ถูก เพราะโลกอาจไม่สิ้นไป แต่มนุษย์อาจสูญพันธุ์เท่านั้นเอง) สิ่งอันใดที่เกิดกับไดโนเสาร์ได้ก็คงเกิดกับพวกเราเผ่าพันธุ์ที่เรียกตัวเองว่า "มนุษย์" ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว น้ำท่วม ซึนามิ พายุ ฯลฯ เหล่านี้เป็นอิทธิพลธรรมชาติ ซึ่งบางคนเชื่อว่าบางอย่างกิจกรรมของมนุษย์ส่งเสริมให้เกิดมากขึ้น หรือเกิดรุนแรงขึ้น บางคนอาจเชื่อว่าไม่มีนัยสำคัญ เพราะแม้มนุษย์ไม่ทำอะไร อย่างไรมันก็ต้องเกิดอยู่แล้ว ยังไม่มีใครยืนยังได้อย่างชัดแจ้งแต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ผู้เขียนแค่ต้องการจะสื่อว่า การกระทำและผลกระทบที่ตามมาเป็นตัวแปรที่ซ้อนกันอยู่ในหลายมิติ ซึ่งมีผลที่เกิดมาจากธรรมชาติเองและผลจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ สิ่งที่เราเรียกว่าการแก้ไขปัฐหาในอดีต ผลที่ตามมาจะกลายเป็นปัญหาใหม่ที่รอให้เราแก้ไขในอนาคต กระแสตื่นตัวจึงดูเหมือนขึ้นอยู่กับกาลเวลา การให้ความสำคัญและการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสนใจของสังคม ผมไม่อยากเห็นการนำเสนอที่ไม่รอบด้าน หรือมีเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเข้าใจว่าในภาพรวมเป็นอย่างนั้นได้ง่ายๆ

ในอดีต เราพัฒนาความเจริญ เรียกว่ายุคอุตสาหกรรมจากถ่านหิน เหล็ก นำความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายอย่างรวดเร็ว เพราะเครื่องจักรในโรงงาน หรือรถไฟใช้พลังไอน้ำจากการเผาถ่านหินทั้งสิ้น เราเริ่มรู้จักน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าในยุคถัดมา หากเราไม่พัฒนาสิ่งเหล่านี้ มนุษย์คงต้องมีแค่ขวานหิน เสื้อหนังสัตว์ คบเพลิงจากไขมันสัตว์ และการเดินทางแต่ละวันก็คงไม่ได้ไกลเป็นร้อยๆ กิโลเมตรเหมือนดังเช่นทุกวันนี้ ซึ่งเราห่างไกลจากสิ่งเหล่านั้นมานานหลายพันปี และเราคงไม่หวนกลับไปมีวิถีชีวิตอย่างเช่นมนุษย์ถ้ำในอดีต เพราะหากแค่ไฟฟ้าดับทั้งประเทศเพียง 1 วัน ประเทศไทย หรือแม้แต่ประเทศใดในโลกคงเกิดความโกลาหลกันน่าดู แม้กระนั้น การใช้ทรัพยากรก็คงไม่ใช่เหตุผลที่เราจะไม่ดูแลสิ่งแวดล้อม แต่ควรควบคู่กันไป ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เหมืองแร่กับสิ่งแวดลล้อมก็คงเป็นนิยามที่ว่าทั้ง 2 สิ่งควรจะต้องเดินเคียงข้างคู่ขนานกันไป ไม่ใช่เรื่องของเส้นขนานที่ไม่บรรจบกันและต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งครับ

ขอต้อนรับสู่ blog เรื่องเหมืองแร่

สวัสดีครับชาวเหมืองทุกท่าน ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่สาระความรู้และความบันเทิงด้านเหมืองแร่
เนื่องจากผู้เขียนอยู่ในวงการนี้ จึงอยากให้ blog เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เปิดกว้างในการรับรู้ข่าวสารด้านเหมืองแร่กันครับ

ยินดีต้อนรับผู้ที่สนใจทุกๆท่านเข้าร่วมเป็นเพื่อน พี่น้อง กันครับ

สถิติการเติบโตในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของไทย (GDP) 2544-2553

ที่มา: สำนักงานสถิติฯ