3/18/2010

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทองคำ (Gold)

Gold (Au)
ทองคำ

คุณสมบัติโดยทั่วไปเป็นดังนี้ครับ

1. เลขอะตอม 79 เป็นธาตุที่ 3 ของหมู่ IB ในตารางธาตุ จัดเป็นโลหะ
2. น้ำหนักอะตอม 196.967 amu
3. จุดหลอมเหลว 1063 ํc
4. จุดเดือด 2808 ํc
5. ความหนาแน่น 19.32 g/cc
6. เลขออกซิเดชันสามัญ +1,+3

การค้นพบ

สันนิฐานว่าทองคำคงจะเป็นโลหะอิสระโลหะแรกที่มนุษย์เรารู้จัก มนุษย์เรารู้จักโลหะทองคำอย่างน้อยตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ใน Meso potamia (อาณาจักรโบราณในตะวันออกกลาง) ประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัยไม่ว่าจะเป็นอียิปต์โบราณ ยุโรป จีน ล้วนแล้วแต่มี การกล่าวถึงทองคำ คุณค่าและการใช้ประโยชน์ของโลหะนี้

ความมีค่าของทองคำเป็นแรงดลใจให้มนุษย์เราพยายามเสาะแสวงหามันได้ครอบครอง ในยุคเล่นแร่แปรธาตุ นักวิทยาศาสตร์พยายามหาวิธีเปลี่ยนโลหะที่มีราคาถูกและหาง่าย เช่น Pb, Sn ให้เป็นทองคำ ความพยายามถึงแม้จะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็มีส่วนทำให้วิทยาการทางเคมี แพทย์และการถลุงโลหะเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ

การใช้ประโยชน์

1. ใช้เป็นมาตรฐานของระบบการเงินสากล ประมาณกึ่งหนึ่งของทองคำทั้งหมดเก็บรักษาอยู่ในคลังของประเทศต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์นี้

2. ใช้เป็นเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ

3. ใช้ทำโลหะเจือ โลหะเจือของทองคำให้สีต่าง ๆ การบอกร้อยละของทองคำในโลหะเจือนิยมระบุเป็นการัด (karat)

1 karat (Kt) = 1/24 ของทองคำโดยน้ำหนักในโลหะเจือ

ดังนั้น ทองคำ 24 Kt คือทองคำบริสุทธิ์ ส่วนทองคำ 18 Kt, 14 Kt และ 10 Kt มีองค์ประกอบของทองคำโดยน้ำหนัก 75.00 %, 58.33 % และ 41.67 % ตามลำดับ

4. แผ่นทองคำบาง ๆ (gold leaf) ใช้เป็นตัวอักษรหรือสัญญาณของเครื่องบอกสัญญาณ ตัวอักษรของปกหนังสือ

5. ทองคำในรูปแขวนลอยใช้ทำลาย และศิลปบนผิวของเครื่องปั้นดินเผา

6. ใช้ในอุตสาหกรรมอิเลกโตรนิก และโครงการยานอวกาศ

ความเป็นพิษ
ทองคำไม่ปรากฏเป็นพิษ
-------------------------------------------------------------

ผู้เขียน : ดร.ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์
ที่มา : รวบรวมจาก หนังสือสารานุกรมธาตุ
คัดลอกจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic2/Au.html

หมายเหตุ ขอเสริมเรื่องน้ำหนักทองที่ใช้ของไทยในหน่วย "บาท" นั้นมาจากการชั่งน้ำหนักทองคำสมัยก่อนใช้ตาชั่งแบบคานสมดุล ซึ่งพ่อค้าทองจะถ่วงทองคำกับอีกด้านด้วยเหรียญบาท โดย 1 บาท = 15.2 กรัม ปัจจุบันไม่นิยมใช้ตาชั่งแบบดังกล่าวแล้วประกอบกับเหรียญบาทในปัจจุบันอาจมีน้ำหนักไม่เท่าเดิม แต่หน่วยเรียกน้ำหนักทองดังกล่าวก็ยังคงติดปากจนปัจจุบัน

No comments:

Post a Comment

สถิติการเติบโตในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของไทย (GDP) 2544-2553

ที่มา: สำนักงานสถิติฯ